วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลสกลนคร


หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลสกลนคร
















หอผู้ป่วยกึ่งวิฤตศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลสกลนคร
ให้บริการด้านศัลยกรรมระบบประสาท โดยมุ่งเน้น
การแก้ไขปัญหาฉุกเฉิน/วิกฤติทางสมองที่คุกคามชีวิตผู้ป่วย
ให้ทันท่วงที ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และดูแล
แบบองค์รวมในด้านการป้องกันรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟู
สภาพ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถดูแลตนเองต่อที่บ้านได้







หลักเกณฑ์ในการส่งต่อคนไข้ทางด้านศัลยกรรมระบบประสาท
โรงพยาบาลสกลนคร จ.สกลนคร

ก่อนส่งต่อคนไข้มาโรงพยาบาลสกลนคร ต้องโทรศัพท์ติดต่อที่ห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลสกลนครก่อนทุกครั้ง ทุกกรณี ที่ 042-711615 ต่อ 1021 หรือ 042-711189

คนไข้ Trauma

1.คนไข้ severe head injury ( GCS น้อยกว่า 8 )
2.คนไข้ moderate head injury ( GCS อยู่ระหว่าง9-12 )
3.คนไข้ mild head injury ( GCS อยู่ระหว่าง 13-15 ) ที่ประกอบด้วยอาการดังนี้
- มี focal neurological deficit
- post traumatic seizure
- skull fracture หรือ intracranial penetrating wounds
- not fully alert ที่ไม่ได้เกิดจาก การเมาสุราหรือของมึนเมาอื่นๆๆ
- basal skull fracture เช่น มี otorhea หริ rhinorhea
4.คนไข้ multiple organ injury
5.คนไข้ c-spine injury

· ในกรณี ที่คนไข้ mild head injury และ เมาสุรา ควร observe ไว้ที่โรงพยาบาลท่านก่อน 24 ชั่วโมงหลัง 24 ชั่วโมง หากคนไข้ ไม่ fully alert ถึงส่งต่อคนไข้มา ยกเว้น กรณี ญาติคนไข้มีปัญหา หรือยืนยันที่จะมา โรงพยาบาลสกลนคร เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาก็ส่งมาได้เป็นกรณีไป และต้องระบุที่ใบrefer ชัดเจนว่า ญาติขอมารักษาที่โรงพยาบาลสกลนคร


คนไข้ non-trauma

1.คนไข้ GCS 3-12 คะแนน ที่สงสัยว่า จะมีปัญหาทางด้านสมอง
2.คนไข้ GCS 13-15 คะแนน ที่มี อาการ neurological deficit
3.คนไข้กรณี อื่นๆๆที่สงสัยว่า จะมีปัญหาทางด้าน สมอง

ข้อควรปฏิบัติก่อนส่งต่อคนไข้

1.ต้องติดต่อแจ้งที่ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร ก่อนส่งต่อคนไข้ ทุกกรณี
2.Respiratory care : ET tube ก่อนส่งต่อในกรณีคนไข้ GCS น้อยกว่า 9 คะแนน หรือ คะแนน มากกว่า 9 คะแนน ที่ประเมินแล้วว่าหายใจเองไม่ได้
* หากใส่ tube ไม่ได้ ต้องการsedate คนไข้ ควรให้ยา ที่ออกฤทธิ์กดประสาทสั้นและเร็วเช่น dormicum เพื่อประโยชน์การ observe neuro sign คนไข้ โดยควรเลี่ยง valium โดยไม่จำเป็น
3.Stabilization กระดูกต้นคอและส่วนหลัง อย่างระมัดระมัง
4. ให้ น้ำเกลือ ในระยะแรก ต้องเป็น isotonic และ non-glucose เช่น 0.9% nss
5.หาก สงสัยว่า จะมีเลือดออก ในสมอง ก่อนส่งต่อ ควรให้ loading antiepileptic drug มาก่อน เช่น Dilantin 750 mg ใน0.9% nss 100 cc drip in 1 hr โดยไม่ต้องรอ ผล CT brain
6.ก่อน ส่งต่อ หากคนไข้ มีอาการ สงสัยว่า จะมี sign brain herniation หรือCushing respone ให้ manital drip ก่อนส่งต่อ คนไข้มาได้เลย
7.หากคนไข้ shock อยู่ ให้ resuscitation ก่อน ถึงส่งต่อมา

การปฎิเสธรับการส่งต่อคนไข้ทางระบบประสาท

1.ไม่มีประสาทศัลยแพทย์อยู่โรงพยาบาลในช่วงเวลานั้นด้วยสาเหตุต่างๆๆ
2.เครื่อง CT SCAN ของโรงพยาบาลสกลนคร และเอกชน เสียไม่สามารถทำ CT ได้
3.เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลสกลนคร เต็มหรือหมด

· ในกรณีเหล่านี้ทางโรงพยาบาลสกลนครจะแจ้งให้ทางโรงพยาบาลชุมชนรับทราบก่อนและจะมีหนังสือตามไป หรือ ทางโรงพยาบาลชุมชนได้ติดต่อห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสกลนครเพื่อส่งต่อคนไข้แต่ได้รับการปฏิเสธเนื่องจากเหตุผลเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ของคนไข้ ป้องกันการเกิดการล่าช้า ทำให้ เกิดผลเสียกับตนไข้ ซึ่งคนไข้ ทางด้านสมอง ต้องการความรวดเร็วและเร่งด่วน ให้ทางโรงพยาบาลชุมชุนส่งต่อคนไข้ไปยังโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น หรือ โรงพยาบาลอุดรธานีได้เลยทันทีโดยไม่ต้องส่งมาโรงพยาบาลสกลนครเพื่อให้โรงพยาบาลสกลนครส่งต่ออีกทีนึงเพราะจะให้เกิดการล่าช้าและเป็นผลเสียกับคนไข้ซึ่งจะนำมาสู่การฟ้องร้องได้



น.พ.จักรกฤษณ์ ปริโต
ประสาทศัลยแพทย์โรงพยาบาลสกลนคร













































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น