วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

บาดเจ็บที่ศีรษะ




บาดเจ็บทีศีรษะ

การบาดเจ็บที่ศีรษะเนื่องจากอุบัติเหตุ : นอกจากจะมีบาดแผลที่หนังศีรษะ กระโหลกร้าวหรือ ยุบแล้ว บาดแผลที่ศีรษะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสมองในลักษณะต่าง ๆ กัน ดังนี้
1. สมองกระเทือน
2. สมองช้ำ
3. มีเลือดคั่งในสมอง
ผู้ป่วยที่แพทย์ลงความเห็นว่าได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะมีอาการสมองกระทบกระเทือน ภายหลังได้รับการรักษาเบื้องต้นและขอกลับบ้านก็ยังมีความจำเป็น ต้องได้รับการเฝ้าสังเกตุอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดอีก อย่างน้อย 1-2 วัน
อาการผิดปกติที่สามารถสังเกตุได้ คือ
1. ระดับความรู้สึกตัวต่ำ เช่น นอนซึม เรียกไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือมีอาการเอะอะโวยวาย
2. พูดโต้ตอบ และทำตามคำสั่งไม่ได้
3. คลื่นไส้อาเจียน
4. มีอาการปวดศีรษะมากขึ้น
5.มีอาการอ่อนแรงของแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือมีอาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณหน้า แขน หรือขา
6. ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพซ้อน
สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์แนะนำให้อยู่รักษาในโรงพยาบาลส่วนมาก คือ ผู้ป่วยที่มีอาการสมองช้ำ หรือผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยว่าจะมีเลือดคั่งกดทับเนื้อสมอง จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดในหออภิบาลผู้ป่วยอาการหนัก (ICU)
ขั้นตอนที่แพทย์จะทำการรักษา คือ
1.เฝ้าสังเกตุอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตลอดเวลา และให้งดอาหาร เครื่องดื่ม เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีฉุกเฉิน
2. การรักษาทางยา รวมถึงการ ให้อาหาร และ น้ำเกลือทาง หลอดเลือด
3.การตรวจพิเศษ ซึ่งอาจมี
- เอ็กซเรย์กระโหลกศีรษะ และอวัยวะอื่น ๆ ที่บาดเจ็บ
- เอ็กซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจดูอย่างละเอียด
- ในกรณีสงสัยว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอ หรือฐานกระโหลกร้าว อาจต้องมีการตรวจเอ็กซเรย์เพิ่มเติม เช่น เอ็กซเรย์กระดูกคอ , CT-SCAN ฐานกระโหลก , ทำ MRI ของกระดูกคอ หรืออาจฉีดสีตรวจเส้นเลือดเพิ่มเติมก็ได้
4.การทำผ่าตัดสมอง ในรายที่มีเลือดคั่งกดทับเนื้อสมอง เพื่อ ป้องกันอันตรายต่อผู้ป่วยที่จะทำให้ตาย หรือพิการตลอดชีวิต
5. การรักษาอื่น ๆ ต่อโรคที่เกิดร่วม เช่น บาดเจ็บของอวัยวะอื่น ๆ โรคแทรกซ้อนที่จะอาจมี เช่น มีน้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลังรั่วออกทางจมูก หู หรือเส้นโลหิตแดงใหญ่รั่วออกทางแอ่งเส้นเลือดดำ (Carvenus Sinus)
6. การรักษาทางยา และกายภาพบำบัด ตลอดจนศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อให้ผู้ป่วยคืนกลับสภาพปกติได้มากที่สุดในระยะเวลาอันรวดเร็ว
7. การตรวจดูการทรุดตัวหรือเสื่อมสภาพของกระดูกคอ อันเป็นผลมาจากการบาดเจ็บของศีรษะที่ทำให้กระดูกสันหลังส่วนนี้เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร
8.การติดตามผลการรักษาอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งอาการที่เกิดจากโรคลมชัก หรือการเสื่อมของสมอง และเส้นประสาทสมองในระยะยาว จะส่งผลต่อสุขภาพ และการฟื้นตัวของผู้ป่วย รวมทั้งผลในทางประกันสุขภาพ

คัดลอกจาก ศูนย์สมองโรงพยาบาลกรุงเทพ

ด้วยความปรารถนาดีจาก ตึกศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลสกลนคร
โทร. 042 – 711615 ต่อ 1500






1 ความคิดเห็น:

  1. กรุณาตรวจสอบความถูกต้องของข้อความด้วยครับ ยังมีพิมพ์ตกอยู่เล็กน้อย ทั่วๆไป เรียบร้อยดี นุชเอง

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น