วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาท

จากประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยด้านศัลยกรรมระบบประสาท ในหอผูป่วยศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลสกลนครพบว่า ความสำคัญในการให้การดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทคือ การเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดตามอาการและพยาธิสภาพของผู้ป่วย จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยและมีอัตราการหายเพิ่มขึ้นได้ โดยอาศัลเครื่องมือหลักคือ การตรวจวัดสัญญาณชีพ การประเมินผู้ป่วยทางระบบประสาท นอกจากนี้พยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจในการที่จะแปลผลของสัณญาณชีพ อาการทางระบบประสาทที่ถูกต้อง เพื่อให้ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งมีแนวทางดังนี้
จากแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป โดยสถาบันประสาทวิทยา และ ชมรมพยาบาลโรคประสาทแห่งประเทศไทย (,13-14. )

แนวทางการประเมินผู้ป่วยทางระบบประสาท (neurological assessment)
กิจกรรมทางการพยาบาล
1. ประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัว
1.1 โดยใช้ Glasgow coma scale (GCS) ซึ่งมีคะแนนรวมสูงสุด = 15 คะแนน
การลืมตา (eye opening)
• ลืมตาได้เอง 4 คะแนน
• ลืมตาเมื่อเรียก 3 คะแนน
• ลืมตาเมื่อรู้สึกเจ็บปวด 2 คะแนน
• ไม่ลืมตาเลย 1 คะแนน
การตอบสนองต่อการเรียกหรือการพูด (verbal)
• พูดคุยได้ไม่สับสน 5 คะแนน
• พูดคุยได้แต่สับสน 4 คะแนน
• พูดเป็นคำๆ 3 คะแนน
• ส่งเสียงไม่เป็นคำพูด 2 คะแนน
• ไม่ออกเสียงเลย 1 คะแนน
การเคลื่อนไหวที่ดีที่สุด (movement)
• ทำตามคำสั่งได้ 6 คะแนน
• ทราบตำแหน่งที่เจ็บ 5 คะแนน
• ชักแขน ขาหนีเมื่อเจ็บ 4 คะแนน
• แขนงอผิดปกติ 3 คะแนน
• แขนเหยียดผิดปกติ 2 คะแนน
• ไม่เคลื่อนไหวเลย 1 คะแนน
1.2 ขนาดรูม่านตา ลงบันทึกเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นมิลลิเมตร (mm.)
และปฏิกิริยาต่อแสง
- มีปฏิกิริยาต่อแสงไฟฉาย (บันทึกตัวย่อ B =brisk )
- มีปฏิกิริยาต่อแสงไฟฉายช้า (บันทึกตัวย่อ S =sluggish)
- ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสงไฟฉาย (บันทึกตัวย่อ N =no reaction)
- ตาปิด (บันทึกตัวย่อ C =close)
1.3 กำลังของแขน ขา (motor power)
แขน กำลังปกติ ❑ ขวา ❑ ซ้าย
ยกแขนต้านแรงไม่ได้ ❑ ขวา ❑ ซ้าย
ขยับได้ตามแนวราบ ❑ ขวา ❑ ซ้าย
กระดิกนิ้วได้ ❑ ขวา ❑ ซ้าย
ไม่มีการเคลื่อนไหว ❑ ขวา ❑ ซ้าย
ขา กำลังปกติ ❑ ขวา ❑ ซ้าย
ยกขาต้านแรงไม่ได้ ❑ ขวา ❑ ซ้าย
ขยับได้ตามแนวราบ ❑ ขวา ❑ ซ้าย
กระดิกนิ้วได้ ❑ ขวา ❑ ซ้าย
ไม่มีการเคลื่อนไหว ❑ ขวา ❑ ซ้าย
1.4 สัญญาณชีพ
• อุณหภูมิร่างกาย (บันทึกตัวย่อ T = temperature)
• ชีพจร (บันทึกตัวย่อ P = pulse)
• อัตราการหายใจ (บันทึกตัวย่อ R = respiratory)
• ความดันโลหิต (บันทึกตัวย่อ BP = blood pressure)
ถ้า SBP > 185-220 mmHg DBP > 120-140 mmHg วัด 2 ครั้ง ติดต่อกัน ใน 5 นาที และรายงานแพทย์ทันที
(S = systolic blood pressure D = diastolic blood pressure)
เพียงแต่พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะที่ดีในการใช้เครื่องมือนี้
ก็จะช่วยให้การดูแลรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะในการดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทโดยเฉพาะผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจะแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามระดับความรู้สึกตัว คือ
* การบาดเจ็บที่ศีรษะทีไม่รุนแรง ( Mild head injury ) GCS = 13-15
* การบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงปานกลาง (Moderate head injury ) GCS = 9-12
* การบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง (Severe head injury ) GCS = 3-8
ทำให้ง่ายในการให้การรักษาพยาบาลมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น